แนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษาหรือองค์กร

แนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษาหรือองค์กร

โดย Dr.Darunee Panjarattanakorn -
Number of replies: 13

ให้นำเสนอแนวทางจัดการความรู้ของหน่วยงานหรือองค์ของนักศึกษา

In reply to Dr.Darunee Panjarattanakorn

ตอบ: แนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษาหรือองค์กร

โดย Manutchanok Silawong -

แนวทางจัดการความรู้ของหน่วยงานหรือองค์ของนักศึกษา

1. ปรับวัฒนธรรมองค์กรให้เหมาะสมในการจัดการความรู้ (Culture change)

เพื่อให้การจัดการความรู้บรรลุวัตถุประสงค์ ผู้บริหารและคณะควรจัดสภาพแวดล้อม เพื่อสร้างสรรค์ให้ครูและบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา ยึดแนวทางในการทำงาน โดยมีค่านิยมและพฤติกรรมการทำงานที่ควรปฏิบัติ

2. การจัดการความรู้ (Knowledge Management)  หมายถึง กระบวนการที่เป็นระบบในการบริหารจัดการให้บุคลากรมีความรู้สำคัญที่พร้อมใช้ เพื่อให้บุคลากรสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานประจำ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการและคณะฯ รวมทั้งสนับสนุนการบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของคณะฯ โดยกระบวนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย การแลกเปลี่ยน การรวบรวมและสร้าง การถ่ายทอดและแบ่งปัน การจัดเก็บ และการเผยแพร่ความรู้ เพื่อให้บุคลากรใช้และต่อยอดความรู้ในการทำงานประจำให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษา

3. เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ (Learning Technology) หมายถึง การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การจัดการความรู้ (KM) และการทำงาน โดยบุคลากรในสถานศึกษา มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการส่งเสริมการจัดการความรู้

4. การให้อำนาจแก่บุคคล (People Empowerment) หมายถึง การเปิดโอกาส หรือให้อำนาจ แก่บุคลากรในการเรียนรู้ เพื่อการปฏิบัติงานที่ดี สามารถแก้ไขปัญหา ปรับปรุง และสร้างนวัตกรรมร่วมกัน รวมทั้งการเรียนรู้ร่วมกับผู้รับบริการ และองค์กรภายนอก

5. พลวัตการเรียนรู้ (Learning Dynamic) หมายถึง การให้โอกาสหรือสร้างการเรียนรู้แก่บุคลากรอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ตอบสนองเป้าหมายของสถานศึกษา เช่น แผนที่ความคิด (Mind mapping) เทคนิคในการช่วยจำ (mnemonics) เช่น รหัส กลุ่มคำย่อประโยค บทกลอน คำพ้องเสียง ได้แก่ วัฒนธรรม จุดเน้นการพัฒนาคุณภาพบุคลากรประจำปี การเปรียบเทียบให้เห็นภาพ (imagery) ดนตรี (music) เป็นต้น

6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) หมายถึง  โดยการจัดทำเอกสาร จัดทำฐานความรู้ ใช้ได้ดีสำหรับความรู้ประเภทชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคล (Tacit Knowledge) นั้นจะต้องทำด้วยการพบปะกันตัวต่อตัวหรือเป็นกลุ่ม

7. การยอมรับและให้รางวัล (Recognition and rewards) หมายถึง  การยกย่องชมเชย และให้รางวัลเพื่อเป็นแรงจูงใจในการจัดการความรู้ เป็นเรื่องที่ผู้บริหารควรหาโอกาสที่จะให้ผู้ที่ตั้งใจแลกเปลี่ยนความรู้ มีโอกาสได้รับแรงจูงใจในการทำงาน เพื่อทำให้มีกาลังใจในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเรียนรู้ตลอดชีวิต




In reply to Dr.Darunee Panjarattanakorn

Re: แนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษาหรือองค์กร

โดย Sawika Mangmi -

    แนวทางการจัดการความรู้ในสถานศึกษาของข้าพเจ้า เพื่อให้ทุกคนได้สร้างความรู้ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และใช้ความรู้เพื่อทำให้สถานศึกษาเป็นองค์กรแห่งความรู้

     1. ผู้บริหาร และครู ต้องเป็นบุคคลรอบรู้ เป็นแบบอย่างในการแสวงหาความรู้  และนำความรู้ที่ได้มาเผยแพร่ หรือแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน

     2. ทุกคนในสถานศึกษาต้องมีส่วนร่วมในการวางแผน กำหนดวิสัยทัศน์ และเป้าหมาย ของการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา

     3. มีการสร้างทีมงานแห่งการเรียนรู้ เพื่อดำเนินการตามกระบวนการที่วางไว้ และแก้ปัญหาด้วยกัน

     4. ทุกคนต้องเข้าใจเกี่ยวกับการคิดเชิงระบบ ส่งเสริมให้ทุกคนคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดสังเคราะห์เพื่อสร้างสิ่ง ใหม่ขึ้นอาจจะสร้างขึ้นใหม่ทั้งหมด หรือสร้างจากสิ่งเดิมที่มีอยู่ เช่น เพิ่มเติม ตัดทอน ดัดแปลง ขยายย่อส่วน เปลี่ยนรูปแบบ


In reply to Dr.Darunee Panjarattanakorn

ตอบ: แนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษาหรือองค์กร

โดย ณัฐธิดา พิไลพันธ์ -

1. ให้นำเสนอแนวทางจัดการความรู้ของหน่วยงานหรือองค์ของนักศึกษา

      แนวทางการจัดการความรู้ของคณะครูโรงเรียนบ้านนาสีนวล มีรูปแบบดังต่อไปนี้

1. ขั้นการกำหนดความรู้ ครูจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของรายวิชาศึกษาวิเคราะห์หลักสูตรแต่ละระดับ

 2. ขั้นการแสวงหาความรู้ ครูจะต้องตระหนักถึงความสำคัญของการแสวงหาความรู้ พัฒนาความรู้สามารถของตนเองให้เข้าถึงความรู้ โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การแสวงหาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ และเพื่อนร่วมงานโดยการยอมรับในความรู้ความสามารถซึ่งกันและกัน

3. ขั้นการสร้างความรู้ ครูเข้าร่วมกิจกรรมสร้างความรู้ นวัตกรรมของสถานศึกษา เข้าร่วมประชุมสัมมนา ประชุมปฏิบัติการเกี่ยวกับการเรียนการสอนที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดขึ้น    

4. ขั้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา และเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่สมาคมหรือชมรมทางวิชาชีพครู จัดขึ้นอยู่เสมอ รวมทั้ง ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในลักษณะอื่น

 5. ขั้นการเก็บความรู้ ครูจะต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้เทคโนโลยีในการเก็บความรู้ในรูปแบบ Websiteวีดีทัศน์ แถบบันทึกเสียง และคอมพิวเตอร์เป็นต้น รวมทั้ง ครูจะต้องจัดทำแฟ้มพัฒนางานจัดทำเอกสารประกอบการสอนที่ได้จากการสร้างและการแลกเปลี่ยนความรู้

6. ขั้นการนำความรู้ไปใช้ ครูจะต้องเข้าร่วมกิจกรรมโดยการนำเสนอความรู้ในโอกาสต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการ การประชุมสัมมนา มีการเผยแพร่ความรู้ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น วารสาร เว็บไซด์จดหมายข่าวเป็นต้น


ดด

In reply to Dr.Darunee Panjarattanakorn

ตอบ: แนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษาหรือองค์กร

โดย ภรภัทร มีพงษ์เภา -

 แนวทางการจัดการความรู้ของคณะครูวิทยาลัยเทคนิคราชบุรี มีรูปแบบดังต่อไปนี้

1. ปรับวัฒนธรรมองค์กรให้เหมาะสมในการจัดการความรู้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจของวิทยาลัยร่วมกัน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน ผู้บริหารมีการจัดสภาพแวดล้อม สนับสนุน อำนวยความสะดวกในด้านสื่อเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทุกคนในสถานศึกษายึดแนวทางในการทำงาน โดยมีค่านิยมและพฤติกรรมการทำงานที่ควรปฏิบัติ

2. การจัดการความรู้ มีการจัดอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา ตลอดจนส่งเสริมให้เข้ารับการอบรมได้อย่างหลากหลาย เช่น รูปแบบฝึกปฏิบัติลงมือทำ รูปแบบออนไลน์ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในงานนั้นๆ มากขึ้น

3. การสร้างความรู้ ครูและบุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมสร้างความรู้ เข้าร่วมประชุมสัมมนา ประชุมปฏิบัติการร่วมกับวิทยาลัย และหน่วยงานอื่นๆ ที่จัดขึ้น    

4. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูนำความรู้ที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาแลกเป็นเรียนรู้ร่วมกับสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ในส่วนของการจัดการเรียนการสอนทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ โดยไม่จำกัดแผนกวิชา 

5. การเก็บความรู้ ครูและบุคลากรทางการศึกษามีการพัฒนาตนเอง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ และจัดเก็บข้อมูลในด้านต่างๆ อย่างเป็นระบบ โดยมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล เช่น แอพพลิเคชั่นดูแลผู้เรียน สำหรับเก็บข้อมูลนักเรียน นักศึกษาในความดูแล, โปรแกรม ศธ.02 ออนไลน์ ฐานข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับเก็บข้อมูลนักเรียน นักศึกษาทั้งวิทยาลัย สำหรับตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล ผลการเรียน สถานการศึกษา เป็นต้น ตลอดจนครูจะต้องจัดทำแฟ้มพัฒนางานจัดทำเอกสารประกอบการสอนที่ได้จากการสร้างและการแลกเปลี่ยนความรู้

6. การนำความรู้ไปใช้ ส่งเสริมให้ครูและนักเรียน นักศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ พัฒนาทักษะของผู้เรียน เช่น การแข่งขันทักษะวิชาชีพ การแข่งขันสิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ กิจกรรม ทูบีนัมเบอร์วัน เป็นต้น



In reply to Dr.Darunee Panjarattanakorn

ตอบ: แนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษาหรือองค์กร

โดย จุฑามาศ บุณยทรรพ -

? ให้นำเสนอแนวทางจัดการความรู้ของหน่วยงานหรือองค์ของนักศึกษา

1) การกำหนดความรู้ ครูมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน เพื่อนำมากำหนดความรู้ที่ต้องการในการจัดการเรียนการสอน รวมทั้งให้ความร่วมมือกับโรงเรียนและบุคคลอื่นๆ ในการคิดวางแผน กำหนดความรู้ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ พันธกิจของโรงเรียนได้

2) การสร้างและแสวงหาความรู้ ครูให้ความสำคัญในการแสวงหาความรู้ พัฒนาความรู้สามารถของตนเองให้เข้าถึงความรู้  โดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  เพื่อเป็นการสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก จากครูต้นแบบหรือความรู้จากแหล่งต่างๆ ที่กระจัดกระจายอยู่มารวมไว้ เพื่อจัดทำเนื้อหาให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการ ซึ่งในขั้นนี้จำเป็นจะต้องจัดบรรยากาศให้ครูมีความกระตือรือร้นที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ ครูจะต้องพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถเก็บความรู้อย่างเป็นระบบในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้เทคโนโลยีในการเก็บความรู้ในรูปแบบเว็ปไซต์ วีดีทัศน์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น สามารถศึกษาและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้ โดยการนำความรู้ที่ได้มาแยกแยะ วิเคราะห์หรือสังเคราะห์หลอมรวมความรู้ที่ได้ให้สะดวกแก่การศึกษา และจัดทำเป็นฐานข้อมูล

4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ การกลั่นกรองความถูกต้อง ครบถ้วนทันสมัย ใช้งานได้ของความรู้

ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์

5) การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ครูสามารถเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) บอร์ดประชาสัมพันธ์ เว็บไซต์ เป็นต้น

6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ครูนำความรู้ที่ได้จากการปฏิบัติงานมาแลกเปลี่ยน เทคนิคการทำงาน เทคนิคการแก้ปัญหาหรือปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความรู้ใหม่ๆ เป็นการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและแนววิธีการสอนที่เป็นเลิศ (Best Practice)

7) การเรียนรู้ เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการแบ่งปันแลกเปลี่ยนหรือสืบค้นไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน แล้วเกิดความรู้ใหม่ นำมาเข้าระบบจัดเก็บหรือแบ่งปันแลกเปลี่ยน ก็จะได้องค์ความรู้ใหม่ให้ใช้ประโยชน์ต่อไปได้ เกิดระบบ การเรียนรู้จากวงจร “สร้างองค์ความรู้ นำความรู้ไปใช้เกิดการเรียนรู้ และประสบการณ์ใหม่” หมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

In reply to Dr.Darunee Panjarattanakorn

ตอบ: แนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษาหรือองค์กร

โดย นุชวรา ศรีรักษา -

1. ให้นำเสนอแนวทางจัดการความรู้ของหน่วยงานหรือองค์ของนักศึกษา

1.  การมีภาวะผู้นําของผู้บริหาร(leadership of school director) ผู้บริหารเป็นผู้ริเริ่มกระบวนการจัดการความรู้ในโรงเรียนโน้มน้าวชักจูง เชิญชวนบุคลากรให้ร่วมมือดําเนินการการจัดการเรียนรู้ และคอยกํากับติดตามการดําเนินงานอย่างต่อเนื่องรวมถึงการส่งเสริม สนับสนุน และให้กําลังใจแก่ครู 

2.  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้(knowledge sharing)ครูปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทํางานโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ แบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับบุคคลอื่นๆ หรือการทํางานอย่างใกล้ชิดกับผู้เชี่ยวชาญ สนทนาทางวิชาการร่วมกัน เพื่อจัดทําข้อมูลเอกสาร คู่มือและบทเรียน แก้ปัญหาการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ 

3. การจัดระบบความรู้(knowledge system) ครูสร้างฐานข้อมูลแบบออนไลน์ที่ฝ่ายต่างๆ สามารถใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา  นําความรู้จากการปฏิบัติงานของฝ่ายต่างๆ มาประมวลความรู้เพื่อจัดเก็บเป็นฐานข้อมูล  ผู้บริหารกําหนดแนวทางในการกลั่นกรองคัดสรรความรู้ที่มีประโยชน์ต่อการดําเนินงาน สร้างแนวปฏิบัติในการเก็บรวบรวมความรู้อย่างชัดเจนโรงเรียนจัดระบบข้อมูลสารสนเทศเป็นรายบุคคล

4. การนำความรู้ไปใช้(knowledge utilization) ครูนําผลการตรวจสอบมาปรับปรุงแก้ไข และทําการเผยแพร่ผลงาน โรงเรียนจัดนิทรรศการทางวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้และผลงาน  โรงเรียนประชาสัมพันธ์องค์ความรู้ใหม่ให้บุคลากรได้รับรู้ ครูนําความรู้มาปรับปรุงการทํางานสู่ความสําเร็จ

In reply to Dr.Darunee Panjarattanakorn

ตอบ: แนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษาหรือองค์กร

โดย เนาวรัตน์ สุชีพ -

แนวทางจัดการความรู้ของหน่วยงานหรือองค์ของนักศึกษา

1. การบ่งชี้ความรู้ เป็นการพิจารณาร่วมกันทั้งผู้บริหารและคณะครูว่าจะทำอย่างไรให้สถานศึกษาบรรลุเป้าหมาย มีการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมายร่วมกัน ใช้ความรู้ที่มีให้เป็นประโยชน์มากที่สุดโดยร่วมกันแสดงความคิดเห็น

2. การสร้างและแสวงหาความรู้ ซึ่งสามารถทำได้หลายทาง เช่น การสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า โดยคณะครูต้องให้ความสำคัญกับการการสร้างและแสวงหาความรู้เพื่อเป็นการพัฒนาองค์ความรู้

3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางรากฐานสำคัญเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อการเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง สามารถนำมาใช้งานได้อย่างแม่นยำและมีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ทำให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาได้อย่างเป็นระบบ

4. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้เข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก โดยการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) หรือการประชาสัมพันธ์บนแพลตฟอร์มต่างๆเพื่อให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น เกิดการเรียนรู้ได้ทุกที่

5. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการซึ่งจะแบ่งได้สองกรณีได้แก่ Explicit Knowledge อาจจะจัดทำเป็นเอกสาร ฐานความรู้ และเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ หรือ Tacit Knowledge จัดทำเป็นระบบ จัดระบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ ระบบพี่เลี้ยง การสับเปลี่ยนงาน เป็นต้น

6. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่น การเรียนรู้จากสร้างองค์ความรู้ การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ และนำความรู้ที่ได้ไปหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง และมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้สิ่งต่างๆที่ทำให้สามารถพัฒนาคุณภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสม

ss
In reply to Dr.Darunee Panjarattanakorn

ตอบ: แนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษาหรือองค์กร

โดย Suchada Yotha -

ให้นำเสนอแนวทางจัดการความรู้ของหน่วยงานหรือองค์ของนักศึกษา

แนวทางการจัดการความรู้ในสถานศึกษาของดิฉัน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรและมุ่งพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

1.   การกำหนดความรู้   ผู้บริหารและครู มีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้มากที่สุด

2.       การสร้างและแสวงหาความรู้   ครูต้องมีการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง สร้างหรือหาวิธีการสอนที่เป็นเลิศ (Best Practice) เข้ามาใช้ในการสอน เช่น สื่อต่างๆ หรือการจัดกิจกรรมกับชุมชน นอกจากนี้ ครูทุกคนยังต้องแสวงหาความรู้และพัฒนาความรู้สามารถของตนอยู่เสมอ เช่น จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จากผู้เชี่ยวชาญหรือภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้าร่วมประชุมสัมมนาหรือการประชุมปฏิบัติการเกี่ยวกับการเรียนการสอนที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดขึ้น เป็นต้น

3.       การจัดความรู้ให้เป็นระบบ   เป็นการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อการเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง โดยจัดทำเป็นฐานข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้เทคโนโลยีในการเก็บความรู้ในรูปแบบเว็ปไซต์ วีดีทัศน์ คอมพิวเตอร์ การลงในวารสาร และจดหมายข่าว เป็นต้น เพื่อสามารถเรียกดูข้อมูลหรือสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาต่อยอดให้ดีขึ้นต่อไป

4.       การเข้าถึงความรู้   มีการวางระบบให้มีความพร้อม เพื่อให้เข้าถึงและเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถที่ทันสมัย และสะดวกรวดเร็ว เช่น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะอินเตอร์เน็ต หรือการประชาสัมพันธ์ทางช่องทางต่างๆเพื่อให้เข้าถึงได้ง่าย และเกิดการเรียนรู้ได้ทุกที่

5.       การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้   ครูเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่หน่วยงานต่างๆจัดขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดและสร้างความรู้ใหม่ๆ รวมทั้งการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) และแนววิธีการสอนที่เป็นเลิศ (Best Practice) ทั้งในและนอกสถานศึกษา

6.   การเรียนรู้   เป็นการนำความรู้ที่ได้จากการแบ่งปันแลกเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน แล้วเกิดความรู้ใหม่หรือประสบการณ์ใหม่ๆ หมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง สามารถนำมาปรับปรุงพัฒนาการทํางานสู่ความสําเร็จต่อไป

                                           ybp
In reply to Dr.Darunee Panjarattanakorn

ตอบ: แนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษาหรือองค์กร

โดย วิจิตรา ภาคภูมิ -
แนวทางจัดการความรู้ของหน่วยงานหรือองค์ของนักศึกษา
1. การกำหนดสิ่งที่องค์กรต้องรู้
เพื่อให้มองเห็นภาพรวมของความรู้ที่เกี่ยวข้องกับความต้องการขององค์กร เพื่อที่นำความรู้อย่างถูกต้องเหมาะสม
2.การแสวงหาความรู้
องค์กรจะต้องหาวิธีการในการดึงความรู้จากแหล่งต่าง ๆ และจากครูผู้มีประสบการ์ มารวบรวมจัดทำเนื้อหาให้เหมาะสม และตรงกับความต้องการของผู้ใช้ แต่ถ้าองค์กรยังไม่มีความรู้ที่จำเป็นต้องใช้ องค์กรอาจต้องสร้างความรู้ดังกล่าวจากความรู้เดิมที่มีอยู่หรือนำความรู้จากภายนอกองค์กรมาใช้
3. การเรียนรู้
การเรียนรู้ของบุคลากรจะทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ขึ้น ซึ่งจะไปเพิ่มพูนองค์ความรู้ขององค์กรที่มีอยู่แล้วให้มากขึ้น ความรู้เหล่านี้จะถูกนำไปใช้เพื่อสร้างความรู้ใหม่ๆ อีกเป็นวงจรที่ไม่มีสิ้นสุดที่เรียกว่า “วงจรการเรียนรู้”
4. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้
โดยการจัดทำเอกสาร จัดทำฐานความรู้ ใช้ได้ดีสำหรับความรู้ประเภทชัดแจ้งการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวบุคคล นั้นจะต้องทำด้วยการพบปะกันตัวต่อตัวหรือเป็นกลุ่ม
5. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ
เป็นการเก็บความรู้อย่างเป็นระบบเพื่อการเรียกใช้งานได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง โดยจัดทำเป็นฐานข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้เทคโนโลยีในการเก็บความรู้ในรูปแบบเว็ปไซต์ วีดีทัศน์ คอมพิวเตอร์ การลงในวารสาร และจดหมายข่าว เป็นต้น เพื่อสามารถเรียกดูข้อมูลหรือสามารถนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาต่อยอดให้ดีขึ้นต่อไป
In reply to วิจิตรา ภาคภูมิ

ตอบ: แนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษาหรือองค์กร

โดย วรัญญา ทิพย์กรรณ -

แนวทางจัดการความรู้ของหน่วยงานหรือองค์ของนักศึกษา

1. การบ่งชี้ความรู้ โรงเรียนมีการกำหนดพันธกิจและยุทธศาสตร์ให้สอดคล้องวิสัยทัศน์ บุคลากรมีการเข้าร่วมประชุมเพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน จุดเด่น จุดด้อย โอกาสและ อุปสรรคเกี่ยวกับความรู้ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติและส่งเสริมให้มีการร่วมกันแสดงความคิดเห็น กำหนดแนวทางการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปสู่เป้าหมาย

2. การสร้างและการแสวงหาความรู้  บุคลากรควรได้รับการสนับสนุนในการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น บุคลากรมีการจัดทำข้อมูล เอกสาร วิจัยในชั้นเรียน เพื่อนำความรู้เดิมมาต่อยอดความรู้ใหม่ มีการเชิญวิทยากรภายนอกเข้ามาให้ความรู้ และเข้าร่วมอบรม เพื่อพัฒนาตนเองและงานให้มีประสิทธิภาพ

3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ  บุคลากรควรได้รับการพัฒนาตนเองให้มีความรู้ความสามารถในการจัดเก็บเอกสาร ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ เป็นหมวดหมู่ และมีการจัดทำแฟ้มพัฒนางาน จัดทำเอกสารประกอบการสอน และให้ความสำคัญในจัดการแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ

4. ด้านการประมวลและกลั่นกรองความรู้  บุคลากรควรได้รับการพัฒนาการจัดทำและปรับปรุงรูปแบบของเอกสารให้เป็น มาตรฐานเดียวกัน ในรูปแบบภาษาที่เข้าใจง่าย และใช้ได้ง่าย ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ มีการประมวลวิธีการปฏิบัติการทำข้อมูลเป็นเอกสารและทำข้อสรุปของข้อมูลที่ได้รับ มีการรวบรวมความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นและนำความรู้จากการปฏิบัติงานมาปรับปรุงเพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูล

5. การเข้าถึงความรู้ บุคลากรควรได้รับคำแนะนำการเข้าถึงความรู้ที่หลากหลายและสามารถแนะนำประชาสัมพันธ์ให้ผู้อื่นสามารถเข้าถึงความรู้อย่างถูกต้องชัดเจน และควรให้บุคลากรได้รับความรู้อย่างทันต่อ เหตุการณ์รวมทั้งเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

6. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  บุคลากรควรได้รับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งภายในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา โดยนำความรู้มาใช้ในการพัฒนางาน รวมถึงการถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกัน เช่น การนิเทศ กำกับ ติดตาม การสับเปลี่ยนงาน หรือใช้ระบบพี่เลี้ยง ส่งเสริมให้บุคลากรเข้ารับการอบรม สัมนา ประชุม เพื่อเป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้นำความรู้มาเผยแพร่ และควรร่วม คิด ร่วมทำ ช่วยเหลือการปฏิบัติงานเพื่อให้งานมีประสิทธิภาพ

7. ด้านการเรียนรู้  บุคลากรควรได้รับการพัฒนาความรู้และพร้อมที่จะนำความรู้ไปใช้เพื่อพัฒนาตนเอง และพัฒนางานให้มีประโยชน์สูงสุด และควรสร้างบรรยากาศให้บุคลากรเกิดการเรียนรู้สิ่ง ใหม่ๆ อยู่เสมอ



In reply to Dr.Darunee Panjarattanakorn

Re: แนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษาหรือองค์กร

โดย Tipawan Nillaoo -
ห้นำเสนอแนวทางจัดการความรู้ของหน่วยงานหรือองค์ของนักศึกษา
1. การปรับเปลี่ยนองค์กร หมายถึง การกำหนดทิศทางของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ บทบาทผู้บริหารในการปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างที่ดี ในการมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
2. การจัดการความรู้ หมายถึง กระบวนการที่เป็นระบบในการบริหารจัดการให้บุคลากรภายในองค์กรมีความรู้สำคัญที่พร้อมใช้ เพื่อให้บุคลากรสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานประจำ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้รับบริการและคณะฯ รวมทั้งสนับสนุนการบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายขององค์กร โดยกระบวนการจัดการความรู้ ประกอบด้วย การแลกเปลี่ยน การรวบรวมและสร้าง การถ่ายทอดและแบ่งปัน การจัดเก็บ และการเผยแพร่ความรู้ เพื่อให้บุคลากรใช้และต่อยอดความรู้ในการทำงานประจำให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล บรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน
3. เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ หมายถึง การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การจัดการความรู้ และการทำงาน โดยบุคลากรในองค์กร มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการส่งเสริมการจัดการความรู้
4. การให้อำนาจแก่บุคคล หมายถึง การเปิดโอกาส หรือให้อำนาจ แก่บุคลากรในการเรียนรู้ เพื่อการปฏิบัติงานที่ดี สามารถแก้ไขปัญหา ปรับปรุง และสร้างนวัตกรรมร่วมกัน รวมทั้งการเรียนรู้ร่วมกับผู้รับบริการ องค์กรภายนอก และผู้ส่งมอบ
5. พลวัตการเรียนรู้ หมายถึง การให้โอกาสหรือสร้างการเรียนรู้แก่บุคลากรอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ตอบสนองเป้าหมายขององค์กร เช่น แผนที่ความคิด เทคนิคในการช่วยจำ
Attachment istockphoto-1070519266-612x612.jpg
In reply to Dr.Darunee Panjarattanakorn

Re: แนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษาหรือองค์กร

โดย Tanaritz Tawornjanyawit -
การจัดการความรู้ของโรงเรียนรุ่งอรุณ เน้นการแลกเปลี่ยนความรู้ผ่าน PLC ผ่านความร่วมมือจากทุกฝ่าย เพื่อให้เกิดกระบวนการคิดและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการจัด Open-Classroom ในทุกระดับชั้นและรายวิชา และมีการสะท้อนหลังจบชั้นเรียน ก่อให้เกิดการเปิดมุมมองใหม่ ๆ ของทั้งครูผู้สอน และผู้สังเกตชั้นเรียน เปิดโอกาสให้มีการสะท้อนอย่างตรงไปตรงมา แล้วช่วยกันแก้ไขปัญหาที่พบ รวมไปถึงพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนสูงสุด
In reply to Dr.Darunee Panjarattanakorn

ตอบ: แนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษาหรือองค์กร

โดย Siriporn Soogjit -

แนวทางการจัดการความรู้ของสถานศึกษาหรือองค์กร

       โดยการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาสถานศึกษาให้เป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นกระบวนการจัดเก็บความรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา สามารถนำมาพัฒนาสถานศึกษาให้ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ

1)  ส่วนหัวปลา (Knowledge Vision - KV)  เป็นความรู้ความเข้าใจในวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร

2)  ส่วนตัวปลา (Knowledge Sharing - KS) เป็นกระบวนการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้เกิดการไหลเวียนภายในสถานศึกษา 

3)  ส่วนหางปลา (Knowledge Asset - KA) เป็นการสร้างคลังข้อมูลสำหรับจัดเก็บความรู้รวมทั้งการเผยแพร่ข้อมูล นำไปสู่ กระบวนการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ใน 8 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดองค์ความรู้ 2) การรวบรวมองค์ความรู้ 3) การคัดเลือกองค์ความรู้4) การจัดเก็บองค์ความรู้ 5) การแบ่งปัน องค์ความรู้ 6) การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ 7) การสร้างองค์ความรู้ใหม่ และ 8) การถ่ายทอด

        องค์ความรู้ปัจจัยความสำเร็จ ประกอบด้วย ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา วัฒนธรรม การเรียนรู้ การมีส่วนร่วมของบุคลากร ความพร้อมในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการประเมินผล และการดำเนินงานต้องมีวิสัยทัศน์ นโยบาย การพัฒนา ระดับบุคคล ทีม และ องค์กร อย่างชัดเจน มีสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกิจกรรม การนำมา ประยุกต์ผู้บริหารสถานศึกษาต้องทำความเข้าใจในบริบทของตนเอง และเลือกให้เหมาะสมกับ บริบทของแต่ละสถานศึกษา รวมถึงการเสริมสร้างวินัย 5 ประการ ได้แก่ 1) ความเชี่ยวชาญ เป็นพิเศษของบุคคล 2) รูปแบบความคิด 3) การมีวิสัยทัศน์ร่วม 4) การเรียนรู้เป็นทีม และ 5) การคิดเชิงระบบ เพื่อนำไปใช้การพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ แบบ และมีระบบการเพิ่มศักยภาพในการทำงานของบุคลากรในสถานศึกษา

องค์ความรู้